วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557

ประวัติประเทศไทย

ราชอาณาจักรไทย
ธงชาติตราแผ่นดิน
เพลงชาติเพลงชาติไทย
เพลงสรรเสริญพระบารมีสรรเสริญพระบารมี
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
กรุงเทพมหานคร
13°44′N 100°30′E
ภาษาทางการภาษาไทย
ชื่อเรียกประชาชนชาวไทย
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ(1) และ
ประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา(2)
 - พระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
 - นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นิติบัญญัติรัฐสภา
 - สภาสูงวุฒิสภา
 - สภาล่างสภาผู้แทนราษฎร
สถาปนาเป็น
 - กรุงสุโขทัยพ.ศ. 1792–1981 
 - กรุงศรีอยุธยา3 เมษายน พ.ศ. 1893 – 7 เมษายน พ.ศ. 2310 
 - กรุงธนบุรี28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 – 6 เมษายน พ.ศ. 2325 
 - กรุงรัตนโกสินทร์6 เมษายน พ.ศ. 2325 – ปัจจุบัน 
พื้นที่
 - รวม513,115 ตร.กม. (51)
198,115 ตร.ไมล์ 
 - แหล่งน้ำ (%)0.4 (2,230 km2)
ประชากร
 - 2556 (ประเมิน)64,785,9092[1] (20)
 - 2553 (สำมะโน)65,479,453 [2] 
 - ความหนาแน่น132.1 คน/ตร.กม. (88)
342 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ)2555 (ประมาณ)
 - รวม643,266 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] (24)
 - ต่อหัว10,849 ดอลลาร์สหรัฐ[3] (84)
จีดีพี (ราคาตลาด)2555 (ประมาณ)
 - รวม377,158 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3] (30)
 - ต่อหัว6,572 ดอลลาร์สหรัฐ[3] (89)
จีนี (2552)42.5 [4] 
HDI (2554) 0.682[5] (ปานกลาง) (103)
สกุลเงินบาท (฿) (THB)
เขตเวลา(UTC+7)
ระบบจราจรซ้ายมือ
โดเมนบนสุด.th
รหัสโทรศัพท์66
(1) รูปแบบรัฐ[6](2) รูปแบบการปกครอง
ประเทศไทย หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนและมลายู ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดประเทศพม่าและลาว มีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา มีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด[ก]
ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร[7] และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน[8]กับทั้งยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่[9][10][11][12] โดยมีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการ[13] ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก อาทิ พัทยา,ภูเก็ต, กรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เช่นเดียวกับการส่งออกอันมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ[14] และด้วยจีดีพีของประเทศ ซึ่งมีมูลค่าราว 334,026 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามที่ประมาณใน พ.ศ. 2553 เศรษฐกิจของประเทศไทยนับว่าใหญ่เป็นอันดับที่ 30 ของโลก
ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี[15] นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งต่อมาตกอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา อันมีความยิ่งใหญ่กว่า และมีการติดต่อกับชาติตะวันตก อาณาจักรอยุธยามีอายุยืนยาว 417 ปีก็เสื่อมอำนาจและล่มสลายไปโดยสิ้นเชิง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้เอกราชและสถาปนาอาณาจักรธนบุรี เหตุการณ์ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักร นำไปสู่ยุคสมัยของราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ช่วงต้นกรุง ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาหลายฉบับ และการเสียดินแดนบางส่วน กระนั้น ไทยก็ยังธำรงตนมิได้เป็นอาณานิคมของชาติใด ๆ ต่อมาจนช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตย และไทยได้เข้ากับฝ่ายอักษะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จนช่วงสงครามเย็น ไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ทหารเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยอย่างมากหลังปฏิวัติสยามอยู่หลายสิบปี กระทั่งมีการตั้งรัฐบาลพลเรือน และเข้าสู่ยุคโลกเสรีในปัจจุบัน

เนื้อหา

  [ซ่อน